ปาฐกถาพิเศษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : รำลึกวันชาติ รำลึกการเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ที่ที่มติชนอคาเดมี เครือมติชนจัดงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล ๒๔  มิถุนาฯ มหาศรีสวัสสดิ์  พลวัตรวันชาติ  ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี
 ม.ธรรมศาสตร์ ปาฐกถาเปิดงานในหัวข้อ รำลึกวันชาติ รำลึกการเปลี่ยนแปลง

ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ กล่าวว่า เพลงชาติ เพลงวันชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี ความหมาย  และนัยต่อสยามประเทศ  ถ้าหากเรามองประวัติศาสตร์ช่วงยาว (long history, Louque Durée) จากต้นรัชสมัยของพระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ.2310 ผ่านรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ถึงเหตุการณ์นสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ.2475ในช่วงเวลา 165 ปีนั้น รัฐไทยสยาม หรือสยามประเทศไทย

ผู้ปกครอง ต้องเผชิญกับมหาอำนาจใหม่ อย่างสหราชอาณาจักร (The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) แทนการเผชิญหน้าหรือคบค้าสมาคมกับจีน (China – The Middle Kingdom) ทำให้ต้องปรับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจใหม่ หยุดการ ‘จิ้มก้อง’ หรือส่งบรรณาการให้กับจีนตั้งแต่ปี 1853/2396 และยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค คือ สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ในปี 1855/2398 รวมทั้งต้องลงนามทำสนธิสัญญากับประเทศเอกราชของโลกตะวันตกอีกหลายประเทศ

สยามประเทศไทย จึงเป็นประเทศหนึ่งเดียวในอุษาคเนย์ที่เป็นเอกราช หรือกึ่งเอกราช เอกราช ‘ไม่’ สมบูรณ์ ที่ ‘ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร’ ดังนั้นจึงไม่มีการกู้เอกราช (independence) หรือไม่ต้องมี revolution อันรุนแรงอย่างอินโดนีเซีย (ซูการ์โน) อย่างเวียดนาม (โฮจิมินห์) ที่ต้องใช้การต่อสู้ด้วยกำลังทหาร อาวุธ และกระสุนปืนที่ต้องหลั่งเลือดชะโลมดิน ในขณะที่อดีตเมืองขึ้นบางประเทศต้องใช้การเจรจาต่อรอง เช่นพม่า หรือมาเลเซีย หรือกัมพูชาและลาว นับตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1945/2488 เป็นต้นมา

ปีพ.ศ. 1932 หรือ2475 คืออะไรกันแน่ ถ้าหากเราอ่านหนังสือตำราของฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เราจะพบว่า มักจะใช้คำว่า Coup ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า รัฐประหาร หาได้ใช้คำว่า revolutions ที่บ้านเรามักจะแปลว่า ปฏิวัติ  และถ้าหากจะมองให้เป็นบวก อาจจะต้องเติมคำนำหน้าว่า democratic coup เพื่อขยายความว่าเป็นรัฐประหารประชาธิปไตย หรือเรียกอีกอย่างว่า รัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบ ราชาธิปไตยหรือสมบรูณาญาสิทธิราช ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ให้เป้นระบอบรัฐธรรมนูญ ให้เป็นระบอบรัฐสภา parliamentary rule อย่างอักฤษ

ถ้าถามว่า ปฏิบัติการครั้งนั้น ประสบความสำเร็จหรือไม่ คำตอบก็คือยังไม่สำเร็จเต็มที่ เราต่างก็รู้กันดีว่า อำนาจเดิม ระบอบเดิม ที่มีลักษณะที่เป็นทั้ง ‘อนุรักษนิยมหรือจารีตนิยม’ ก็ยังดำรงอยู่ รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันมา คือ ลัทธิทหาร อำนาจนิยม (militarism) อย่างยุคสมัยของสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส หรือปัจจุบัน คือ “3 ป.” พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พล.อ.อนุพงษ์ ซึ่งยังดำรงอยู่ แม้มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ระบอบทักษิณ’ เข้ามาแทรกแข่งขัน รวมทั้งการปรากฏขึ้นของพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งหลัง ๆ

ดังนั้น ภาพของประวัติศาสตร์ช่วงยาว วันที่ 24 มิถุนายน คือวันที่ทำให้เกิดเพลงชาติ ที่มีการเฉลิมฉลองเคยเป็นวันหยุดราชการยาวถึง 3 วัน เพลงชาติ คือเพลงวันชาติ ยี่สิบสี่มิถุนา ยนศรีมหาสวัสดิ์ เคยมีความสำคัญเคียงคู่กับเพลงชาติ ที่ร้องว่า ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ในปัจจุบัน ซึ่งในหมู่คนรุ่นดก่าก่อนรุ้ล่น baby boomers จะคุ้นเคยกับเพลงทั้งสอง แต่ในขณะเดียวกันสยามประเทศไทย ก็ยังคงมีสถาบันกษัตริย์อยุ่ ยังมีเพลง สรรเสริญพระบารมีอยู่

กล่าวคือ สยามประเทศไทย เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ก็จริง แต่ก็มีความแดกต่างกับ ประเทศต้นแบบ หรือแม่แบบที่เรามักจะข้างอิงถึงอยู่เสมอ ๆ คือ  United Kingdom ที่มีเพลง God Save the King (Queen) ที่ไช้เป็นทั้งเพลง ชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ได้มีสองหรือสามเพลง เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีพลง Kimigayo ที่ก็เป็นทั้งพลงชาลิ และเพลงสรรเสริญพระจักรพรรดิคือมีเพียงเพลงเดียว เช่นกัน

สุดท้าย ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ จบปกฐาด้วย ข้อความของอาจารย์ วรเจตต์ ภาคีรัตน์ ธรรมศาสตร์  ที่ว่า “กล่าวโดยสรุปผมเห็นว่า คณะราษฎรนั้นมีคุณูปการ อย่างสูง ไม่ว่าเราจะประเมินว่าคณะราษฎรจะมีความผิดพลาดอยู่บ้าง จะมีความล้มเหลวอย่างไรก็ตามที่อย่างน้อยได้ว่างโครงหลักของการจัดการปกครองที่มีลักษณะเป:นสากล เป็นอารยะเอาไว้ แม้ว่าจะไม่มีความสมบรูณ์ แต่ความไม่สมบูณ์ นี้เป็นภารกิจของคนในยุคสมัยถัดมา ที่จะเติมเต็มอุดมการณ์นิติรัฐประชาธิปไตยให้สมบรูณ์”